โซเมีย อิน เดอะคลาวด์
โปรดักชั่น โซเมีย นำเสนอโครงการเพื่อการมีส่วนร่วมกับผู้คนและสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในแถบภูมิภาคติดชายแดน เช่น ประเทศไทย ลาว และเมียนมา แม้ว่าพวกเขาจะสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความลื่นไหลและมีชีวิตชีวาผ่านระบบนิเวศนั้นมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อไม่นานมานี้อาณาเขตของพวกเขากลับกำลังถูกกัดเซาะทั้งจากพัฒนาการทางอำนาจของรัฐและการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้จำนวนชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย รวมถึงคนอื่น ๆ จำต้องละทิ้งบ้านของตนและย้ายไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลกเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
แหล่งอ้างอิง UNHCR: https://www.unhcr.org/global-trends
เราเชื่อว่าศิลปะสามารถปลดปล่อย พิสูจน์ และเสริมพลังให้แก่บุคคลในการสร้างความสามัคคี และหวังที่จะส่งต่อไปยังผู้ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เราจึงจะสร้างเวทีสำหรับจัดกิจกรรมนิทรรศการในหลาย ๆ พื้นที่ ดำเนินการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรอื่น ๆ ที่ให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัย ชนกลุ่มน้อย รวมถึงให้การศึกษาและสวัสดิการที่อยู่ใกล้กับจังหวัดเชียงรายและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชีย โดยเราจะประกาศโครงการในเว็บไซต์ของเรา ให้สิทธิ์การเข้าถึงแก่องค์กรที่ต้องการจะเข้าร่วม รวมถึงอนุญาตให้พวกเขามีอิสระในการเลือกผลงาน (ภาพวาด ภาพถ่าย วิดีโอ ฯลฯ ) ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดยศิลปินหลากหลายท่านเพื่อนำมาจัดแสดง ณ สถานที่ที่เห็นว่ามีความจำเป็นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีห้องจัดแสดงหรือสถานที่สำหรับจัดนิทรรศการโดยเฉพาะ พวกเขาสามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมในโรงเรียน ห้องสมุด โรงพยาบาล หอประชุม ฯลฯ และทำการติดตั้ง คัดกรอง และจัดวางชิ้นงานไว้ ณ ที่นั้น ด้วยวิธีนี้ ผลงานจะเข้าถึงผู้ชมที่หลากหลายมากกว่าผู้เข้าชมทั่วไป ทั้งผู้คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดันและความไม่เท่าเทียม รวมถึงความต้องการมีเสรีภาพและความสมัครสมานสามัคคี นี่เป็นการยกย่องแก่สถานี ยูโทเปีย (Utopia Station) ในเวลา 20 ปีให้หลัง ซึ่งได้มีการเปิดตัวโครงการในปี 2003 โดยการทำโครงการเพื่อสร้างสังคมที่แตกต่างในช่วงเวลาแห่งการผงาดขึ้นของลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่หลังเหตุการณ์ 9/11
ในขณะเดียวกัน พื้นที่สำหรับงานศิลปะในเมือง ได้แก่ บ้านสิงหไคล จะถูกนำมาใช้เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานเพื่อให้ผลงานเหล่านี้เข้าถึงผู้ชมเป็นประจำทุก ๆ สองปีด้วยคอลเลคชั่นของ มูลนิธิศิลปะร่วมสมัยออร่า และงานศิลปะใหม่ ๆ ที่ได้รับการจัดแสดง
ศิลปินที่เข้าร่วมนิทรรศการคลาวด์ :
อีร์วัน อะห์เมตต์ และ ติตา ซาลินา, อ่อง เมียต เธ, เมช ชูลาย, มนธิการ์ คำออน, ฮิโรเสะ ซาโตชิ, รองศาสตราจารย์ ดร. เถกิง พัฒโนภาษ, ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์, ควินฮ์ ดอง, คาโนะ เททสึโร่, อาวายะ, ขะวาย ซำนาง, หง็อก เนา, สุลิยา ภูมิวงศ์, ลีโน วุธ, ลิม ซกชานลิน่า, ส้ม ศุภปริญญา, เมาง เดย, บิซิลี, รี, ชเว วุด มน, ถิง-ทง ฉาง, ต้วน มามี่, ทิธ คณิฐา
NGO ที่เข้าร่วมนิทรรศการคลาวด์ :
ศูนย์สังคมคามิลเลียน เชียงราย, มูลนิธิพัฒนาพื้นที่เนินเขาและชุมชน, พิพิธภัณฑ์ชาวเขาและศูนย์การศึกษา, สมาคมเพื่อการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ ประเทศญี่ปุ่น (AAR JAPAN), อาสาสมัครแพทย์นานาชาติเจแปนฮาร์ท, ซากุระโปรเจค, พีซ วินด์ เจแปน, เวียดนาม ยูเมน โกเบ, โซเชียล คอมพาส
ศิลปินที่เข้าร่วมนิทรรศการ ณ บ้านสิงหไคล :
ชเว วุด มน, รี, อ่อง เมียต เธ, ทิธ คณิฐา, มาเอดะ โคเฮ
สถานที่: บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย
- ระยะเวลา: วันที่ 12 ธันวาคม 2566 – 28 กุมภาพันธ์ 2567
- เปิดนิทรรศการ 12 ธันวาคม 2566
- กิจกรรมเสวนา วันที่ 16 ธันวาคม 2566
- https://maps.app.goo.gl/r36vs3gyYYrHW6cNA
- https://productionzomia.com/zomia-in-the-cloud/project-outline
- https://www.facebook.com/singhaklaihouse
- Open TUE – SUN 10:00 – 17:00
เกี่ยวกับเรา โปรดัคชั่น โซเมีย :
โปรดัคชั่น โซเมีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2021 (พ.ศ. 2564) ในฐานะเครือข่ายศิลปิน ภัณฑารักษ์ ผู้ค้นคว้า และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะในเอเชีย กิจกรรมล่าสุดที่จัดขึ้น ได้แก่ “โซมี : ผู้อพยพข้ามถิ่นบนผืนน้ำ – ศิลปะร่วมสมัยจากภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Zomi: Trans-local Migrants on the water – Contemporary Art from the Mekong Region” (2021, อาคารเซมบา เอ็กเซล, โอซากะ, ญี่ปุ่น) “อนาธิปัตย์ – วิญญาณนิยม (Anarco-Animism)” (2022, รีบอร์น อาร์ต เฟสติวัล, มิยางิ, ญี่ปุ่น) “มณฑลสีส้ม (orange Mandala)” (2022, คีนัน อาร์ต วีค, วากายามะ, ญี่ปุ่น) คำว่า ‘โซเมีย’ หมายถึงพื้นที่ภูเขาของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย และเมียนมา) ซึ่งมาจากคำว่า ‘โซมี’ ซึ่งหมายถึงคนที่เกิดหรืออาศัยในบริเวณที่ราบสูงในภาษาธิเบตและเมียนมา
Download Press KitArtists
Venues
- บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
- TUE - SUN 8:30 - 17:30 Closed on Monday
- https://www.facebook.com/singhaklaihouse
- -
- -
Entrance Fee :
- Admission Free