ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช

ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์

ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช” เกิดปี พ.ศ. 2504 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา และนับเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ ว่าเป็นศิลปินที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของยุค ผลงานของเขาก้าวข้ามข้อจำกัดของเทคนิคในการสร้างสรรค์งานผสมผสานการสร้างสรรค์ผลงานแบบดั้งเดิม ศิลปะการแสดง การสอน รวมไปถึงการบริการสาธารณะและปฏิบัติการทางสังคม

ฤกษ์ฤทธิ์ได้รับรางวัล Hugo Boss Prize จากพิพิธภัณฑ์ Guggenheim ในนครนิวยอร์ก เมื่อปี   ค.ศ. 2005 รางวัล Benesse จากพิพิธภัณฑ์ Naoshima Contemporary Art Museum ประเทศญี่ปุ่น และรางวัล Lucelia Artist จาก Smithsonian American Art Museum สหรัฐอเมริกา

ผลงานของฤกษ์ฤทธิ์ได้รับการจัดแสดงที่ Museum of Modern Art นครนิวยอร์ก Guggenheim Museum นครนิวยอร์ก Reina Sofia Museum กรุงมาดริด ประเทศสเปน Los Angeles County Museum of Art Hirschhorn Smithsonian Glenstone Museum Luma Foundation ในเมืองอาร์ล (Arles) Museum Boijmans Van Beuningen เมืองรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมไปถึงในกรุงปารีส และกรุงลอนดอนอีกด้วย

ปัจจุบัน ฤกษ์ฤทธิ์ยังสอนที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในนครนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและภัณฑารักษ์ของ Utopia Station ซึ่งเป็นโครงการที่รวบรวมศิลปิน นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และภัณฑารักษ์เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ฤกษ์ฤทธิ์ยังเป็นผู้อำนวยการโครงการด้านการศึกษาและนิเวศวิทยาในชื่อ The Land Foundation ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เขาพำนักและก่อตั้งสตูดิโอด้วย


กฤติยา กาวีวงศ์

ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์

กฤติยา กาวีวงศ์” เกิดที่จังหวัดเชียงราย ปี 2507 เธอร่วมก่อตั้งองค์กรศิลปะร่วมสมัย โปรเจ็ค 304 ร่วมกับกลุ่มศิลปิน อาทิ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล มณเฑียร บุญมา กมล เผ่าสวัสดิ์ และ ชาติชาย ปุยเปีย ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2539

จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กฤติยา ร่วมก่อตั้งองค์กรศิลปะร่วมสมัย โปรเจ็ค 304 ร่วมกับกลุ่มศิลปิน อาทิ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ไมเคิล เชาวนาศัย มณเฑียร บุญมา และ ชาติชาย ปุยเปีย ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2539

ผลงานนิทรรศการที่เธอได้คัดสรร และร่วมจัดกับภัณฑารักษ์ต่างประเทศ ด้วยการนำเสนอศิลปินจากประเทศไทย เอเชีย และ ยุโรปนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถกเถียงกันโดยศิลปินร่วมสมัยจากพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่อาณานิคม สงครามเย็น จนถึงปัจจุบัน อาทิเช่น การอพยพ ข้ามพรมแดน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมชายขอบ และเรื่องเล่าขนาดย่อม เช่น นิทรรศการ Under Construction, new dimension of Asian Art, ณ  โตเกียว โอเปร่า ซิตี้ และ หอศิลป์ มูลนิธิ ญี่ปุ่น, โตเกียว, (2545), “Politics of Fun” ณ Haus der Kulturen der Welt, เบอร์ลิน (2548), the Bangkok Experimental Film Festival (2540 – 2550) ไซง่อน โอเพ็น ซีตี้ (ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช) โฮจิมินห์, เวียตนาม (2549-2550) “Between Utopia and Dystopia”, The Museo Universitario Arte Contemporáneo (Contemporary Art Univ. Museum) (2554),  (The Serenity of Madness), Apichatpong Weerasethakul, MAIIAM Contemporary Art Museum เชียงใหม่ สัญจรไปฮ่องกง มนิลา ชิคาโก โอกลาโฮม่า โปรตุเกส และไต้หวัน (2559-2563) Imagined Borders, Gwangju Biennale กวางจู เกาหลีใต้ (2561) ผลงานล่าสุด Collectiong Entanglements and Embodied History ร่วมกับ MAIIAM Contemporary Art, Chiang Mai, Singapore Art Museum, National Gallery, Indonesia, Hamberger Bahnhof, Berlin

กฤติยายังทำงานด้านการสร้างเครือข่ายคนทำงาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยระหว่างอุษาคเนย์ และภูมิภาคอื่นๆ  เธอได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนา บรรยาย และ อบรมเชิงปฎิบัติการอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียและต่างประเทศ  กฤติยาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการศิลปะร่วมสมัยแห่งเอเชีย พิพิธภัณฑ์ศิลปะ กุกเก็นไฮม์ นิวยอร์ค ปี 2555 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ MOMA International Curatorial Instittue, Museum of Modern Art นิวยอร์ค ปี 2559 และเป็นกรรมการตัดสินรางวัล HUGO BOSS ASIA ART PRIZE ที่ Rockbund Art Museum, เซี่ยงไฮ้ ปี 2562 ล่าสุดเธอได้รับรางวัล The Chevalier de l’ordre des Arts et des Lettres (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้านอักษรศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชั้นอัศวิน), จากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศฝรั่งเศส (2521) กฤติยาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และ หัวหน้าภัณฑารักษ์ ประจำหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมปืสัน ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน


อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

ภัณฑารักษ์

อังกฤษ อัจฉริยโสภณ” เกิดปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดเชียงราย จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ก่อตั้ง อังกฤษแกลลอรี่ ที่จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี 2551 – 2559 เป็นผู้ก่อตั้ง ARTIST+RUN ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบันเป็นผู้จัดการแกลเลอรี ภัณฑารักษ์ และศิลปินอิสระ ปัจจุบันอังกฤษพำนักและทำงานที่กรุงเทพฯ เชียงราย และ สุพรรณบุรี


มนุพร เหลืองอร่าม

ภัณฑารักษ์

มนุพร เหลืองอร่าม” เกิดปี พ.ศ. 2515 เป็นภัณฑารักษ์ โปรดิวเซอร์ และนักวิจัยอิสระ ปัจจุบันพำนักและทำงานที่ กรุงเทพฯ โดยทำงานด้านศิลปะร่วมสมัย Digital Media และปฏิบัติการทางสังคม โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 1997 เป็นต้นมา ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานศิลปะที่ไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงเทพฯ ได้แก่ About Art Related Activities (AARA: About Studio/About Café) และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ต่อมาในปี 2007 มนุพรได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการของ Arts Network Asia (ANA) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านเครือข่ายและการสนับสนุนทุนด้านศิลปะในเอเชีย ดำเนินการโดย T:Works Singapore ในปี 2018 ได้เข้าร่วมทีมภัณฑารักษ์ของหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน โดยดูแลโครงการของศิลปิน และเป็นภัณฑารักษ์ให้กับงานนิทรรศการวิดีโอจัดวาง 2 ภาค ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ณ มูลนิธิ 100 ต้นสน

ในปี 2023 ได้รับเลือกเป็นภัณฑารักษ์ร่วมของโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

นอกจากนี้มนุพรยังทำงานด้านการวิจัยประวัติศาสตร์ศิลป์ และเป็นบรรณาธิการร่วมของกวีนิพนธ์ Southeast Asian Contemporary Art ภาคภาษาไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม (2015) และเป็นผู้ช่วยวิจัยของ ‘Artist-to-Artist’: Independent Art Festivals in Chiang Mai, 1992-1998’ ตีพิมพ์โดย Afterall Books (2018) และอยู่ในคณะกรรมการบรรณาธิการของ The Modern in Southeast Asian Art: A Reader, ตีพิมพ์โดย National Gallery Singapore (2023).