หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (CIAM)

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย เป็นพื้นที่ศิลปะแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย ก่อตั้งโดยศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เพื่อเป็นหมุดหมายให้เชียงรายเป็นเมืองศิลปะ เชื่อมผู้คน ศิลปิน และศิลปะเข้าด้วยกัน โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการในฐานะพื้นที่แสดงงานหลักในเขตเมืองเชียงรายของมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023

____

โครงการเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2565 บนพื้นที่ 17 ไร่ ที่ได้รับการบริจาคจากนักธุรกิจ ทวีชัย อร่ามรัศมีกุล โดยในระยะแรก ได้แก่ อาคารร่วมสมัยสี่ชั้นครึ่ง ประกอบด้วยหอคอยดำและหอคอยขาวข้างซ้าย-ขวา เปรียบเสมือนตัวแทนศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของชาวเชียงราย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี แห่งบ้านดำ และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แห่งวัดขาว (วัดร่องขุ่น) อีกทั้งยังมีห้องนิทรรศการถาวรสำหรับจัดแสดงผลงานของทั้งสองศิลปิน อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงรายมีพื้นที่ใช้สอยราว 3,000 ตารางเมตร สำหรับจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน มิวเซียมช็อป คาเฟ่ และสำนักงาน สำหรับระยะที่สองจะประกอบด้วยอาคารพิพิธภัณฑ์พร้อมทั้งโรงละครและหอประชุม นอกจากนี้จะมีการก่อสร้างหมู่บ้านศิลปินบนพื้นที่ราว 10 ไร่ เพื่อให้ศิลปินได้ใช้เป็นสตูดิโอสร้างสรรค์ผลงานอีกด้วย
____
ศิลปิน : ออล(โซน), อัลมากุล เมนลิบาเยวา, แฮกู ยาง, มาเรีย ฮาซซาบิ, โมวานา เฉิน, ปังร็อค ซุลาป, ปิแอร์ ฮุยก์, พรีเชียส โอโคโยมอน, ซาร่าห์ เซ, สมลักษณ์ ปันติบุญ, โทเบียส เรห์แบร์เกอร์, โทกูดูร์ ยอนดอนแจมตส์, หวัง เหวิน จื้อ, ซิน หลิว

____
Pavilion :
“The Canopy Walks” โดย เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์
____
Collateral Event :
เทศการศิลปะการแสดงสด โดยกลุ่ม Bangkok International Performing Arts Meeting (BIPAM)
____
Photo :  กิตติภัทรา ตัณฑิกุล